IEP... คืออะไร?

     "...เราอาจเปรียบเทียบ IEP ได้ราวกับเป็น Road Map ที่ถูกสร้างขึ้น สำหรับเด็กพิเศษแต่ละคนโดยเฉพาะ เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถเดินทางผ่านประสบการณ์ต่างๆ ที่ถูกจัดวางไว้ ในแต่ละขั้น แต่ละตอน ตามลำดับ อย่างมีเหตุมีผล อย่างเหมาะสม และสมดุล ในที่สุดเด็กๆ ทุกคนจะบรรลุถึงเป้าหมายทางการศึกษาอย่างมีวุฒิภาวะ และมองตัวเองอย่างผู้ที่ประสบความสำเร็จ..."

FAQ คำถามที่ถามบ่อย

การเลือกโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษ 
     "...ถึงเวลาขานรับการกลับมาของหน้าฝนอีกครั้ง เมื่อรอยต่อแห่งฤดูกาลได้พัดพาให้ฤดูแล้งผ่านพ้นไป ชักนำฝนแรกให้โปรยปรายพร่างพรมนำความชุ่มชื้นมาสู่ผืนแผ่นดินอีกครา อีกไม่นานเหล่ามวลดอกไม้ก็จะเริ่มผลิดอกบานสะพรั่ง..."
     นี่เป็นเวลาของการเปลี่ยนแปลง อาจบางทีเช่นเดียวกับพ่อแม่ของเด็กอีกหลายๆ คน ที่กำลังมองหาทางเลือก มองหาโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษอย่างลูก

รวมภาพฝัน... วันฟ้าสวย

     เปรียบดั่งเช่นการเดินทางไกล ที่เราจะพบว่า มีเรื่องราวต่างๆ มากมายให้ค้นหา มีอุปสรรคที่ต้องฟันฝ่า รวมถึงยังมีความยากลำบากที่ท้าทาย แต่ในขณะเดียวกันก็ช่วยหล่อหลอมจิตใจให้แข็งแกร่งได้เช่นกัน
     ทุกวันนี้ เด็กๆแห่งบ้านเพียงตะวันฯ ยังคงอยู่บนเส้นทางของพวกเขา มีความสุขกับภารกิจต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ยังคงฝึกตน และมุ่งมั่นเพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทาง วิธีการเช่นนี้ไม่ง่ายนัก แต่ได้ผล
     นี่เป็นภาพบางส่วนที่พวกเขาช่วยกันเติมเต็ม และบันทึกไว้เป็นความทรงจำที่ดีที่มีร่วมกัน ย้ำเตือนให้เราทุกคนเห็นถึงคุณค่าของคำว่า "มิตรภาพ" ว่ามีความหมายเพียงใด

 

 

 

 

กาลครั้งหนึ่ง... ที่บ้านเพียงตะวันฯ

ราวลูกปัดเลื่อมลายหลากหลายสี
นำมาร้อยมาลัยรักทักทอใจ
ดุจมณีรุ้งแก้วแววสดใส
สืบสายใยสู่ฝันวันฟ้างาม
ประพันธ์โดย: ครูทิพย์

เพราะหนทางข้างหน้านั้น... มีเธอ

โครงการเดีกพิเศษ อนุบาล-ประถม 6  ศูนย์การศึกษาเฉพาะบุคคล "เพียงตะวัน เคียงเดือน"  เปิดรับสมัครเด็กพิเศษเข้าเรียนในระดับชั้น อนุบาล - ประถม6 ทั้งแบบ "ไปเช้า-เย็นกลับ" และ "นักเรียนประจำ" สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่  02-868-5973, 066-129 -9912  ***กำลังเปิดรับสมัคร***

 
1 มิ.ย. 64 วันเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 

บ้านนี้จะมีความงามได้... ถ้ามีเธอ

ดอกไม้ที่หลากสี... กิจกรรมที่หลากหลาย

เรียนรู้แบบบูรณาการหรือแยกส่วน? เพียงตะวันฯ ในนำแนวคิดทางการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ที่สร้างสมดุลระหว่างการเรียนรู้ภายในตน กับความรู้จากภายนอก เพื่อให้เข้าใจถึงสัมพันธภาพที่มีต่อกัน อันนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลง (Transformaitive Learning) เพื่อให้สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างสงบกลมกลืนกับบริบทแวดล้อม แนวคิดดังกล่าวนี้ได้ถูกประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดกิจกรรมบำบัดในระดับต่างๆ โดยอาศัยการหลอมหลวมความรู้ การเชื่อมโยงสาระวิชาต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน จัดให้เป็นหน่วยการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบองค์รวม ผูกเป็นเรื่องราว (Storyline Process approach) ให้เด็กๆ ได้ติดตามศึกษาตามวิถีทางของแต่ละบุคคล (Self Knowledge Management) เรื่องราวดังกล่าวนี้ มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตจริงของเด็กๆ ดังนั้นจึงเป็นความรู้ที่มีคุณค่ามีความหมายสำหรับพวกเขา
สุขภาวะกาย/ใจ? แนวคิดในเรื่องสุขภาวะที่เน้นปัจเจกบุคคล (เพื่อให้สามารถดำรงตนอยู่อย่างสงบสุข และปรับตัวเข้าได้กับบริบทแวดล้อมซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ) ได้ถูกนำมาเป็นข้อกำหนดพื้นฐานในการออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กๆ ได้บรรลุถึง องค์รวมแห่งสุขภาวะ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ปัญญา สิ่งแวดล้อม และจิตวิญญาณ โดยที่กิจกรรมเหล่านี้จะถูกปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละคน
กายภาพบำบัดหรือสมาธิบำบัด?   เด็กบางคนมี ความต้องการกิจกรรมประเภท กายภาพบำบัด (Physical Therapy) ในขณะที่บางคนต้อง สมาธิบำบัด (Meditation Therapy) และก็มีอีกหลายคนที่ต้องการกิจกรรมบำบัดทั้งสองประเภท ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของสมาชิก IEP Team ที่จะต้องช่วยกันออกแบบและบริหารจัดการกิจกรรมบำบัดสำหรับพวกเขา รวมถึงเรื่องของเทคนิคต่างๆ ที่จะถูกนำมาใช้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะอาการ กำหนดระดับความเข้มข้นมากน้อยแตกต่างกันไป จัดสรรช่วงเวลาและความถี่ที่เพียงพอ ไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยมีครูที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในด้านกิจกรรมบำบัดรับผิดชอบคอยกำกับ ดูแลอย่างใกล้ชิด
บำบัดเดี่ยวหรือบำบัดกลุ่ม?   ประเด็นเรื่องศักยภาพทางเทคนิคเชิงเปรียบเทียบระหว่างการบำบัดแบบเดี่ยว (Individual Therapy) และ การบำบัดแบบกลุ่ม (Group Therapy) นั้นมีจุดเด่น จุดด้อย ที่แตกต่างกันไป การบำบัดแบบเดี่ยว สามารถพินิจพิจารณาเจาะจงและดำเนินการแก้ไขปมปัญหาของเด็กได้เป็นการเฉพาะกรณี อัตราส่วน 1:1 ทำให้นักกิจกรรมบำบัดสามารถเพ่งความสนใจ ลงลึกถึงรายละเอียด ใช้เวลาและทรัพยากรทั้งหมดที่มีไปกับเด็กคนหนึ่งได้ แต่ก็มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่มากกว่าและมีข้อจำกัดในด้านกระบวนการกลุ่ม ในขณะที่การบำบัดแบบกลุ่มนั้น ส่งเสริมกิจกรรมที่ต้องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เพิ่มทักษะทางสังคมให้กับเด็ก เด็กๆ จะได้มีโอกาสรับรู้ถึงมุมมองที่แตกต่าง เรียนรู้ถึงมิตรภาพ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว มีโอกาสแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน พลังแห่งกลุ่มจะช่วยเพิ่มสัมฤทธิผลของการบำบัดในลักษณะที่การบำบัดแบบเดี่ยวไม่สามารถทำได้เลย ที่บ้านเพียงตะวันฯ เลือกใช้การบำบัดทั้งสองแบบข้างต้น โดยกำหนดให้เหมาะสมตามความต้องการของเด็กแต่ละราย
เรียนร่วมหรือเรียนคู่ขนาน?   ในด้านวิชาการ เด็กๆ ทุกคนที่บ้านเพียงตะวันฯ จะได้รับการวางแผนจัดการในเรื่อง "การเรียนแบบคู่ขนาน" (กับชั้นเรียนปกติ) ซึ่งสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ระดับการสอนเสริม เรื่อยไปจนถึงขั้น การสร้างหน่วยการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบองค์รวม ที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงสาระการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ และจากนั้นประเมินผลการเรียนรู้ และทำการเทียบโอนกลับเพื่อตัดสินให้ผ่านการศึกษาในแต่ระดับช่วงชั้น โดยที่จะยังคงมีศักดิ์และสิทธิเทียบเด็กในชั้นเรียนปกติทุกประการ
         "ที่เพียงตะวันฯ มีที่ว่างเสมอสำหรับเด็กทุกคน..."
เรียนรู้แบบบูรณาการหรือแยกส่วน? เพียงตะวันฯ ในนำแนวคิดทางการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ที่สร้างสมดุลระหว่างการเรียนรู้ภายในตน กับความรู้จากภายนอก เพื่อให้เข้าใจถึงสัมพันธภาพที่มีต่อกัน อันนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลง (Transformaitive Learning) เพื่อให้สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างสงบกลมกลืนกับบริบทแวดล้อม แนวคิดดังกล่าวนี้ได้ถูกประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดกิจกรรมบำบัดในระดับต่างๆ โดยอาศัยการหลอมหลวมความรู้ การเชื่อมโยงสาระวิชาต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน จัดให้เป็นหน่วยการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบองค์รวม ผูกเป็นเรื่องราว (Storyline Process approach) ให้เด็กๆ ได้ติดตามศึกษาตามวิถีทางของแต่ละบุคคล (Self Knowledge Management) เรื่องราวดังกล่าวนี้ มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตจริงของเด็กๆ ดังนั้นจึงเป็นความรู้ที่มีคุณค่ามีความหมายสำหรับพวกเขา
ศิลปะบำบัดและดนตรีบำบัด    ศิลปะบำบัด (Art therapy) ช่วยให้เด็กๆ ได้แสดงออกถึงตัวตนของพวกเขา หรือบรรยายถึงโลกรอบตัว โดยไม่ต้องใช้ภาษาสื่อสารที่เป็นคำพูด ดังนั้นจึงเป็นการช่วยเพิ่มทักษะในการสื่อสาร ตลอดจนทักษะทางสังคมให้มากขึ้น และยิ่งกว่านั้น ยังทำให้สมาธิ (Attention) ของพวกเขาในการเพ่งความสนใจให้อยู่กับภารกิจหนึ่งๆ ได้ดีขึ้นและยาวนานขึ้นอีกด้วย
     ประเด็นถัดมา หากพิจารณาในแง่ผัสสะที่นำไปสู่การรับรู้ (Sensation and Perception) อาจกล่าวได้ว่า คงไม่มีสิ่งใดเข้าถึงพวกเขาได้ดีกว่าดนตรีอีกแล้ว เพราะมิใช่แค่เพียงเสียงที่ได้ยิน แต่ลุ่มลึกหยั่งลงไปถึงจิตวิญญาณ เพราะเหตุนี้ ดนตรีบำบัด (Music therapy) จึงถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน ทั้งเรื่อง อัตราการหายใจ อัตราการเต้นของชีพจร ความดันโลหิต การตอบสนองของม่านตา ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด จึงช่วยในการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ กระตุ้นประสาทสัมผัส การรับรู้ เสริมสร้างสมาธิ พัฒนาทักษะสังคม พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ลดความตึงตัว ของกล้ามเนื้อ และช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และการสร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก ที่บ้านเพียงตะวันฯ เราใช้เสียงดนตรีอะคลูสติดเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานกิจกรรมบำบัด
วารีบำบัดและอาชาบำบัด   ในบรรดากิจกรรมบำบัดทั้งหมดที่ถูกเลือกนำมาใช้ที่บ้านเพียงตะวันฯ ดูเหมือนว่า วารีบำบัด (Hydrotherapy) และ อาชาบำบัด (Hippotherapy) จะได้รับผลคะแนนโหวตจากเด็กๆ มากที่สุดเท่าที่เคยสำรวจมา แม้ว่าระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการ (Treatment Period) จะต่อเนื่องยาวนานเป็นเดือนๆ ก็ตาม ส่วนในด้านสัมฤทธิผลก็เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน
     วารีบำบัด ในรูปแบบของการจัดกิจกรรมกลุ่มในสระว่ายน้ำสำหรับเด็กพิเศษโดยเฉพาะ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย ช่วยให้ระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการประสานงานที่ดีขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่อ่อนแอ อาศัยประโยชน์จากภาวะของน้ำที่จะช่วยพยุงน้ำหนักของส่วนต่างๆ ของร่างกายเอาไว้นำมาขยายขอบเขตของการออกกำลังกายให้มากยิ่งขึ้น ช่วยฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจ รวมถึงยังเป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอื่นๆ เช่น การบำบัดด้านสมาธิและความสนใจ (Attention Deficit Problem) ตลอดจนการจัดกิจกรรมบำบัดสำหรับกลุ่มย่อย (Treatment for children with joint problems) อีกทั้งเด็กๆ ยังได้มีโอกาสฝึกหัดว่ายน้ำอีกด้วย
     ส่วนอาชาบำบัด ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการบำบัดเด็กพิเศษ ทั้งทางด้านกายภาพ ซึ่งได้แก่ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับระบบการเคลื่อนไหว การทรงตัว ความสมมาตรของร่างกาย ระบบประสาท และกล้ามเนื้อ รวมถึงด้านจิตใจ อารมณ์และพฤติกรรมต่างๆ อีกด้วย
     "...เมื่อใดก็ตามที่พวกเด็กๆ อยู่บนหลังม้า ด้วยสัญชาตญาณแห่งการเอาตัวรอดของมนุษย์ จะนำพาพวกเขาให้ใช้ศักยภาพทั้งหมดที่มีเพื่อปรับตนเอง ระบบและกลไกทางกายภาพทั้งหมดจะต้องถูกควบคุม และดำเนินการภายใต้การสั่งการผู้เป็นเจ้าของร่าง สมดุลและสมมาตรต้องมีให้ได้ พลังงานทั้งหมดจะต้องถูกนำมาใช้ เพียงเพื่อให้ทรงตัวอยู่รอด มิให้ตกจากหลังม้า พวกเขารู้ว่าหากเกรี้ยวกราด เอาแต่ใจตนเองดั่งที่เคย อาจทำให้ม้าไม่พอใจ และพวกเขารู้อีกว่า หากพวกเขาว็อกแวก ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ขาดสติกำกับตน หรือสมาธิสั้นเกินกว่าจะรับมือกับภารกิจนี้ อาจทำให้หายนะบังเกิด ดังนั้นในภาวะขับขันเช่นนี้ ไม่ว่าต่อมอะตรีนาลีนจะถูกกระตุ้นให้ทำงานเต็มพิกัดหรือไม่ พวกเขารู้แต่เพียงว่า พวกเขาต้องเป็นฝ่ายชนะเท่านั้น!..."
     และท้ายที่สุด พวกพวกเขายังเรียนรู้ถึงการแบ่งปันความรักและความรู้สึกที่ดีให้กับม้า สัตว์ที่มีความฉลาดเป็นอย่างยิ่ง เด็กที่ก้าวร้าวกลับอ่อนโยนขึ้น จิตใจได้ถูกหล่อหลอมกล่อมเกลาโดยไม่รู้ตัวในขณะที่พวกเขาลูบสัมผัสม้า ไม่นานนักพวกเขาก็สามารถหยั่งถึงความรู้สึกแห่งความโอบอ้อมอารีที่พึงมีได้ในจิตใจที่ละเอียดอ่อน
และผองเพื่อนที่ผูกพัน...   "...สำหรับพวกเขาแล้ว "มิตรภาพ" ดูเหมือนเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาได้เริ่มรับรู้ และเปิดใจกว้างเพื่อต้อนรับเพื่อนใหม่ เมื่อนั้นเป็นสัญญาณที่ดีว่า กำแพงแก้วสูงตระหง่านที่ล้อมรอบตัวพวกเขาได้เริ่มพังทลายลง เส้นพรมแดนของโลกส่วนตัวเริ่มจางหายลงไปทุกขณะ รอเพียงเวลาให้ทุกอย่างถึงพร้อม การเชื่อมบรรจบเป็นหนึ่งเดียวกันกับโลกภายนอกก็จะสมบูรณ์..."
     ที่บ้านเพียงตะวันฯ ให้ความสำคัญและพยายามที่จะปลูกฝัง "สำนึกแห่งความเป็นเพื่อน" (Sense of Friendship) ให้เกิดขึ้นกับเด็กๆ ทุกคน กิจกรรมหลายๆ อย่างที่ถูกจัดขึ้นได้ถูกสอดแทรกเรื่องราวเหล่านี้หลอมรวมเข้าไว้อยู่เสมอ มิใช่เพียงเพราะว่านี่คือส่วนหนึ่งของการส่งเสริมทักษะทางสังคม หรือการจัดเตรียมเครือข่ายให้พวกเขาในอนาคตเท่านั้น แต่เรารู้ว่านี่คือ กุญแจไขปริศนา อันนำไปสู่แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

 


 

สมดุลแห่งชีวิต... สมดุลแห่งการบำบัดที่บ้านเพียงตะวันฯ

     ที่บ้านเพียงตะวันฯ เราใช้หลักการจัดกิจกรรมบำบัดในรูปแบบองค์รวม ที่คำนึงถึงความสมดุลของสุขภาวะทั้งสาม คือ กาย ใจ และจิตวิญญาณ (Physical/Metal/Spiritual Well-Being) อันนำไปสู่สภาวะสมดุลแห่งชีวิต ที่มนุษย์สามารถดำรงชีพและดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างสงบศานติสุข

ร่างกาย (Body)

     สุขภาวะทางกาย เป็นภาวะที่มนุษย์รับรู้และสามารถดำรงตนให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ระบบต่างๆ รวมทั้งอวัยวะทั้งหมดทั้งองคาพยพทำงานสอดประสานกันอย่างถูกต้องเป็นปกติสุข ผัสสะนำมาซึ่งการรับที่ถูกต้องไม่บิดเบือน อโรคยาคือปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ อีกทั้งมีวิถีการดำเนินชีวิตที่สอดคล้อง กลมกลืน และเหมาะสมกับบริบทของตน คือ เพศ วัย สภาพร่างกาย และสภาพแวดล้อม

จิตใจ (Mind)

     สุขภาวะทางจิตใจ เป็นภาวะที่มนุษย์มีสภาพจิตใจที่ดีงาม หนักแน่น มีอารมณ์ที่มั่นคง สามารถควบคุมได้ เพราะมีสติกำกับตนอยู่เสมอ จิตใจเปี่ยมไปด้วยปีติ คือความอิ่มเอิมใจ ความดื่มด่ำที่หยั่งลึกลงถึงก้นบึ้งของหัวใจ มีความเบิกบานเป็นอย่างยิ่ง มีความสงบเย็นเป็นที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะจิตได้รับการฝึกฝนมาอย่างถูกต้อง ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

จิตวิญญาณ (Spirit)

     สุขภาวะทางจิตวิญญาณ เป็นมิติที่สูงส่งของจิต กล่าวคือ มีจิตใจที่สูงขึ้น ละเอียดปราณีตขึ้น โน้มนำไปในทางที่ดีงามเป็นศิริ เป็นมงคล เป็นภาวะที่จิตสามารถเข้าถึงสิ่งสูงสุด ในทางพุทธหมายถึงปัญญา จิตวิญญาณสูงทำให้มีสุขภาวะ (Well being) จิตใจผ่อนคลาย เป็นอิสระท่ามกลางปัญหาและความวุ่นวาย แต่ยังคงความสงบ ความสุข ตลอดทั้งร่างกายและจิตใจ

ต่างคนเติมใจให้กัน... จนเต็ม

เพลง: เติมใจให้กัน     คำร้อง/ทำนอง: ศุ บุญเลี้ยง/สินนภา สารสาส     ร้อง: ก้อง สหรัฐ สังคปรีชา

 
อยู่ไกลกัน เกินครึ่งฟ้า
จะโยงใย ความสัมพันธ์
ต่อเติม แรงใจเมื่อท้อ
ต่างคน เติมใจให้กัน
หากยังมีใจถึงกัน
จนมาพบกันใกล้ตา
แบ่งปันในยามทุกข์ตรม...ไม่หวั่น
เติมใจซึ่งกัน...จนเต็ม

 



Kseniya Simonova's Amazing Sand Drawing

 

คำขวัญ... ขวัญเจ้ามาสู่เรือนตน

คือฉัน...คือเธอ 
คือพี่...คือน้อง 
คือผองเพื่อน...ที่ผูกพัน

     หนึ่งในบรรดาคำถามคลาสสิคมากที่สุดในทางอภิปรัชญา ก็คือ "ฉันคือใคร? ฉันเหมือนหรือแตกต่างจากผู้อื่นตรงไหน?" นี่คือรากเหง้าแห่งวิถีความคิดของ "เพียงตะวันฯ" ที่ใช้ในการก่อร่างสร้าง "วัฒนธรรมบ้านเพียงตะวันฯ" ซึ่งทุกๆ คนตระหนักและยอมรับในเรื่องความเป็นปัจเจกของแต่ละบุคคล ความแตกต่างของผู้อื่นที่ไม่เหมือนกับตน การอยู่รวมกันอย่างพึ่งพิง ทุกคนช่วยกันทักทอเป็นโครงข่ายโยงใยความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มิใช่เพียงแค่วันนี้แต่หมายรวมไปถึงความผูกพันในวันข้างหน้าสืบไป...

รับสมัคร: เด็กพิเศษ

แบบสำรวจ (Poll)

ท่านคิดว่า คุณลักษณะข้อใดที่สำคัญที่สุด ที่พ่อแม่ของเด็กพิเศษพึงมี?

Who's Online

We have 7 guests online

Site Login